ryaom

ryaom
รักนะคนดี

ประวัติจ.ร้อยเอ็ด

                                                                    ประวัติจ.ร้อยเอ็ด

                                                                                                                                                                 
               ตามตำนานเล่ากันมาว่าบริเวณที่ตั้งจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน เดิมเป็นเมืองใหญ่ชื่อว่า


 เมืองสาเกตนคร (อาณาจักรกุลุนทะนคร) เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาแต่โบราณกาลมีเมืองขึ้นถึงสิบเอ็ด

 เมือง (ในสมัยโบราณนิยมเขียนสิบเอ็ด เป็น ๑๐๑ คือ สิบกับหนึ่ง) มีทางเข้าสู่เมืองถึง   
 สิบเอ็ดประตู

    มีเจ้าผู้ครองนครเรียกว่าพระเจ้ากุลุนทะ มีเชื้อสายสืบสันติวงศ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี

   เมืองสาเกตนครหรืออาณาจักรกุลุนทะนครนอกจากจะมีประตูและเส้นทางเข้าสู่เมืองถึงสิบเอ็ดทาง
   แล้ว

  ยังมีรหัส ควบคุมความปลอดภัยความมั่นคงของบ้านเมืองอย่างเข้มแข็ง เช่น มีวัดตามรายทางเข้า 
  เมือง

  และมีปี่ซาววา (ซาว เป็นภาษาอีสานหมายความว่า ๒๐)สามารถส่งสัญญาณเข้าสู่ตัวเมืองบอกข่าวสาร

  แจ้งเหตุร้ายดีที่จะมาถึงเมืองสาเกตนครให้ทราบล่วงหน้าได้เป็นอย่างดีเมืองสาเกตนครหรืออาณาจักร
  กุลุน

-ทะนคร จึงเป็นอาณาจักรที่จัดระบบการปกครองและรัฐประศาสนศาสตร์แตกต่างไปจากอาณาจักรอื่น ๆ

  สมัยพระเจ้าสุริยวงศาไชยเชษฐาธรรมิกราช เมืองขึ้นกับเมืองสาเกตนครทั้ง ๑๑ เมืองคือ



(๑) เมืองเชียงเหียน (บ้านเชียงเหียน อำเภอเมืองมหาสารคาม)



(๒) เมืองฟ้าแดด (บ้านฟ้าแดดสูงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์)



(๓) เมืองสีแก้ว (บ้านสีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)



(๔) เมืองเปือย (บ้านเมืองเปือย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)



(๕) เมืองทอง (บ้านเมืองทอง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)



(๖) เมืองหงษ์ (บ้านเมืองหงษ์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน)



(๗) เมืองบัว (บ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย)



(๘) เมืองคอง (อยู่บริเวณ อำเภอเมืองสรวง) อำเภอสุวรรณภูมิ)



(๙) เมืองเชียงขวง (บ้านจาน อำเภอธวัชบุรี)



(๑๐) เมืองเชียงดี (บ้านโนนหัว อำเภอธวัชบุรี)



(๑๑) เมืองไพ (บ้านเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ)



         และในสมัยพระเจ้าสุริยวงศาไชยเชษฐาธรรมิกราช อาณาจักรกุลุนทะนครก็ถึงคราวเสื่อม เมืองขึ้น
      ต่างๆ

     ทั้งสิบเอ็ดหัวเมืองจึงกระด้างกระเดื่อง ทำตัวกบฏกับเมืองสาเกตนคร ต่างยกทัพมารบราฆ่าฟันกัน ผู้
     คน

     ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ในที่สุดก็จับพระเจ้าสุริยวงศาไชยเชษฐาธรรมิกราชสำเร็จโทษราษฎรที่
     เหลือ

     รอดตายก็อพยพทิ้งฐานไปทำมาหากินและตั้งถิ่นฐานใหม่



     แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน เดิมเป็นดินแดนที่เรียกว่าอาณาจักร

  สุวรรณภูมิ แบ่งแยกอำนาจการปกครองเป็น ๓ อาณาเขต คือ

๑. อาณาเขตทวารวดี อยู่ตอนกลาง มีเมืองนครปฐมเป็นราชธานี

๒. อาณาเขตยาง หรือโยนก อยู่เหนือ มีเมืองเงินยางเป็นราชธานี

๓. อาณาเขตโคตรบูร ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มีเมืองนครพนม
     เป็นราชธานี



             ในสมัยนั้นชนชาติเขมรหรือขอมเป็นชนชาติที่เจริญรุ่งเรืองกว่า 
             ชนชาติอื่นใดในภูมิภาคนี้ เนื่องจาก
             ได้รับ

             อิทธิพลจากชาวอินเดีย ต่อมาขอมก็มีอำนาจครอบครอง
             อาณาจักรนี้เหนือชนชาติอื่นและได้นำความ

             เจริญรุ่งเรือง มาสู่อาณาเขตต่าง ๆ รวมทั้งพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
             ใน 
             ปัจจุบันซึ่งอยู่ในอาณาเขตโคตรบูร 
   
             ก็ เป็น

  
          เมือง ที่ขอมสร้างขึ้นในสมัยขอมเรืองอำนาจ หลักฐานที่ยังปรากฏได้แก่

ที่อำเภอพนมไพรยังปรากฏมีซากแสดงภูมิฐานที่ตั้งเมือง เป็นรูปสระรอบ ๆ แสดงว่าเป็นคูเมือง ใกล้สระด้านในเป็นรูปเนินดินสูงแสดงว่าเป็นกำแพงเมือง ตอนกลางมีสระโชติ (สระขี้ลิง) รอบ ๆ สระเป็นเนินสูง ลักษณะเป็นเมืองเก่า และมีแผ่นหินทำเป็นรูปเสมาจมในพื้นดินกว่าสิบแผ่นซึ่งแสดงว่าเป็นศิลปการสร้างของขอมจึงสันนิษฐานว่าพวกขอมเป็นผู้สร้างเมืองนี้ไว้และ ยังไม่เสร็จเรียบร้อย แต่ต่อมาเข้าใจว่าอพยพไปอยู่ที่อื่น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะการศึกสงคราม หรือโรคระบาด

กู่กาสิงห์ ในท้องที่อำเภอเกษตรวิสัย มีลักษณะเป็นปรางค์กู่ที่ก่อสร้างด้วยศิลาแลง รูป สี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ ๔๐ เมตร สูง ๘ เมตร มีประตูเข้าออกทั้งสี่ด้าน ภายในมีศิลาแลงวางทับกันเป็นชั้น ๆ ขนาดกว้างด้านละ ๙ เมตร สูง ๒ เมตร ทางด้านทิศตะวันออกสร้างเป็นบันไดด้วยศิลาแลง มีหินแกะสลักเป็นรูปสิงโต ขนาดใหญ่นั่งตรงเชิงบันได จำนวน ๒ ตัว ถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด ี้แต่รูปลักษณะของโบราณสถานนเข้าใจว่าสร้างในสมัยเดียวกับปราสาทหินพิมาย

จากหลักฐานซากโบราณสถานเหล่านี้พอจะเป็นเหตุอนุมานได้ว่า อาณาเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน เป็นเมืองที่ขอมสร้างขึ้นในสมัยเดียวกับขอมสร้างปราสาทหินพิมาย และอาณาบริเวณนี้คงเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น และได้เสื่อมลงตามที่ชนชาติขอมเสื่อมอำนาจลง